1. HRV คืออะไร ?
ความแปรผันของอัตราการเต้นของหัวใจ ( Heart Rate Variability ) : ความแปรผันของหัวใจที่เป็นระยะเวลาระหว่างการเต้นของหัวใจในแต่ละจังหวะ โดยอัตราการเต้นของหัวใจแต่ละครั้งจะมีค่าเปลี่ยนไปอยู่เสมอ ซึ่งค่าที่เปลี่ยนไปหรือความแตกต่างนี้ก็คือ HRV นั่นเอง
อัตราการเต้นของหัวใจถูกกำหนดโดยส่วนของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทซิมพาเธติก และพาราซิมพาเธติก ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทันทีเมื่อร่างกายและสภาพแวดล้อมภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
อัตราการเต้นของหัวใจถูกกำหนดโดยส่วนของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติ ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทซิมพาเธติก และพาราซิมพาเธติก ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทันทีเมื่อร่างกายและสภาพแวดล้อมภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน


เพิ่มเติม
  ร่างกายของมนุษย์มีการรับรู้สิ่งรบเร้าต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย สิ่งรบเร้าเหล่านี้ไม่ใช่หมายถึงแค่ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์  , การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ , การหายใจ , หรืออื่นๆ  แต่ยังรวมถึงการมีสภาวะของโรคต่างๆ ( ความเครียด , โรคหัวใจ , ความดันโลหิตสูง , เบาหวาน , หรือโรคต่างๆ )​ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับร่างกายโดยตรง
สิ่งรบเร้าต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการไม่สมดุลของร่างกาย ซึ่ง ANS ( Autonomic nerve system ) หรือ ระบบประสาทอัตโนมัติจะถูกกระตุ้นให้จัดการให้ร่างกายมีความสมดุล ( หน้าที่หลักของระบบประสาทอัตโนมัติ คือ รักษาความสมดุลของร่างกาย )
สิ่งที่ระบบประสาทอัตโนมัติ ( ซิมพาเธติกและพาราซิมพาเธติก ) ทำให้ร่างกายมีความสมดุลเหล่านี้ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ

2. เหตุใดเราจึงบอกว่า HRV ผิดปกติ บ่งบอกถึงการมีสุขภาพที่ดีขึ้น แม้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจนั้นคงที่ ?
หัวใจนั้นมีการเต้นอยู่ตลอดเวลาและมีความซับซ้อน เราพูดว่าเรามีสุขภาพดีขึ้นเมื่อหัวใจเต้นไม่ปกติ นับตั้งแต่มีแนวคิด “ Homeostasis “ หรือ สภาวะสมดุลของร่างกาย มาใช้ตั้งแต่ปี 1920 กระบวนการทางชีววิทยาตั้งอยู่บนหลักการของความสมดุล แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการพัฒนาของเทคโนโลยีโดยใช้สันญาณประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงทางสรรีรวิทยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ค้นพบว่าสันญาณนี้ได้มีความซับซ้อน และมีความหลากหลายแม้ว่าร่างกายจะอยุ่ในภาวะที่สมดุล
เมื่อเร็วๆนี้ มีผลงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความแปรผันของอัตราการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ตรงกันข้ามกับความคิดที่ว่าการเต้นของหัวใจที่คงที่ในสภาวะปกติเป็นเรื่องปกติ จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ปกติ
เนื่องจากอิทธิพลของระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งจะปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและสภาวะแวดล้อมภายนอก ยิ่งความสามารถในการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงมากเท่าไหร่ อัตราการเต้นของหัวใจก็ยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากเท่าไหร่ อัตราการเต้นของหัวใจก็จะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเท่านั้น แสดงว่าร่างการมีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว ร่างกายจึงมีความแข็งแรงมากขึ้น

3.หัวใจนั้นสามารถบ่งบอกถึงการทำงานทั้งหมดของประสาทอัตโนมัติได้ ?
หัวใจนั้นไม่สามารถบ่งบอกการทำงานของประสาทอัตโนมัติได้ทั้งหมด แต่หัวใจนั้นทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติก และเป็นอวัยวะที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เราจึงใช้หัวใจเพื่อบ่งบอกของการทำงานของประสาทอัตโนมัติ
เมื่อก่อนระบบประสาทอัตโนมัติจะหมายถึงประสาทซิมพาเทติกเท่านั้น แต่ในทุกวันนี้การวิเคราะห์ HRV นั้นเป็นวิธีการเฉพาะที่ใช้ในการแปลค่าระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติก ซึ่งในปัจจุบันวิธีการนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้มากที่สุดสำหรับวัดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ

4. ความแปรผันของอัตราการเต้นของหัวใจและความเครียด มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
การที่มีความเครียดอย่างต่อเนื่องทำให้กลไกการควบคุมสภาวะสมดุลร่างกายนั้นเสื่อมลง ( หน้าที่หลักของระบบประสาทอัตโนมัติ ) ซึ่งความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติจะลดการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัตินี้ระบุได้จากความแปรผันอัตราการเต้นของหัวใจ
อีกนัยหนึ่ง คือ การลดลงของอัตราการเต้นของหัวใจนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งรบเร้าภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของท่าทาง , ระบบทางเดินหายใจ , การใช้ชีวิตประจำวัน , อาการช็อค  และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคหัวใจ , โรคเบาหวาน ( ความเครียดทุกประเภท )​ และสภาวะสมดุลของร่างกาย
ความเครียดต่างๆนั้น จะส่งผลต่อการหายใจและความดันหลอดเลือดเป็นต้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง , ระบบประสาทส่วนปลาย รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ และตามมาด้วยอัตราการเต้นของหัวใจ

5.เราจะทราบถึงระดับความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติได้อย่างไร ?
ความแปรผันของอัตราการเต้นของหัวใจ ( HRV ) ถูกวัดโดยการใช้กระแสไฟฟ้า และถูกวิเคราะห์โดย 2 ปัจจัย : คลื่นความถี่ และ เวลา
การวิเคราะห์โดยคลื่นความถี่แสดงถึงระดับความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ
ระบบประสาทพาราซิทพาเทติกจะมีการตอบสนองโดยทันทีโดยการกระตุ้นในลักษณะคลื่นความถี่สูง
ระบบประสาทซิมพาเทติก มีการตอบสนองอย่างช้าๆ หลังได้รับการกระตุ้นเพียงไม่กี่วินาที ในลักษณะคลื่นความถี่ต่ำ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นความถี่ สูง/ต่ำ ที่แตกต่างกันตามโดเมนคลื่นความถี่ ( FFT transform ) ทำให้สามารถทราบได้ว่าระบบประสาทซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติกมีผลกระทบเป็นอย่างไร

6.อะไรคือประโยชน์ที่สถานพยาบาลจะได้รับจากค่าการวินิจฉัยค่า HRV ?
การวินิจฉัยแบ่งเป็น 6 ส่วนหลักๆ ตามที่แสดงข้อมูลอยู่ในเอกสาร
ส่วนแรก คือ การประเมินความต้านทานต่อโรคภัย , ส่วนที่สอง คือ การคาดการณ์ศักยภาพในการฟื้นตัว , ส่วนที่สาม คือ การเตือน / การรับมือ สำหรับโรคเรื้อรัง , ส่วนที่สี่ คือ การเลือกใช้ชนิดและปริมาณของตัวยา , ส่วนที่ห้า คือ สังเกตปละติดตามความคืบหน้าของการรักษา , ส่วนที่หก คือ การดูแลรักษาสุขภาพ และวิถีการดำเนินชีวิต เพื่อควบคุมและวางแผนรับมือตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
ด้วยอุปกรณ์นี้ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมร่างกายเป็นอย่างไร และระดับการรับมือกับความเครียดนั้นเป็นอย่างไร ผ่านพารามิเตอร์ SDNN ซึ่งจะแสดงการแปรผันของระดับอัตราการเต้นของหัวใจ ( โดยใช้อัตราส่วน TP , LF , HF , LF/HF  ) สามารถบ่งบอกความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติและความรุนแรงของโรค เช่น ระดับความรุนแรง และระดับความเรื้อรัง ผ่านค่าดัชนีความเครียด ทั้งความเครียดทางร่างกาย, ความเครียดทางจิตใจ, และความเหนื่อยล้า

7.สภาพแวดล้อมสำหรับใช้ตรวจวัดผลและข้อควรระวัง
ให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่รู้สึกสบายใจ
สภาพแวดล้อมในร่มที่มีแสงสว่างพอเพียง และปราศจากเสียงรบกวนจากภายนอก
มีอุณหภูมิที่รู้สึกสบาย ไม่เย็นไม่ร้อนจนเกินไป
ห้องตรวจควรมีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับอุปกรณ์ และของต่างๆ เช่น เก้าอี้ ได้
โดยทั่วไปผู้รับการตรวจจะนั่งบนเก้าอี้ และอุปกรณ์ในการวัดนั้นมีขนาดประมาณเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ( หรือโน๊ตบุค )
ข้อควรระวังเมื่อทำการวัดผล :
ก่อนที่ทำการวัดผล ผู้รับการตรวจควรนั่งพักนิ่งๆเป็นเวลา 5 นาที
ควรงดอาหารก่อนทำการตรวจ 2 ชั่วโมง ( ระบบประสาทซิมพาเทติกอาจมีค่าสูงเกินตอนตรวจ )
ควรงดกาแฟ ( คาเฟอีน ) , การสูบบุหรี่ และกินยา ก่อนการตรวจ 12 ชั่วโมง
ในช่วงการตรวจควรมีสภาวะที่ผ่อนคลาย เช่น ทำใจให้สบาย นั่งให้สบาย รวมถึงหายใจปกติ
แนะนำให้ผู้รับการตรวจมองไปที่ผนัง ไม่แนะนำให้นอนหลับ