“ระบบภูมิคุ้มกัน” สำคัญต่อการป้องกันและรับมือกับ โควิด-19

การรับมือกับโควิด-19 ระลอกใหม่ นอกจากต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal อย่างเข้มงวดแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับดูแลสุขภาพของเรา เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ฯลฯ เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคโควิด-19 ได้สูงกว่าคนทั่วไป…ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายมีหน้าที่ต่อสู้และป้องกันร่างกายจากอาการป่วยและเชื้อโรคต่างๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง อาจช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของการเจ็บป่วยได้…หากคุณมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงได้เช่น ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่ครบห้าหมู่ ไม่ทานผักผลไม้ มีความเครียดสะสม หรือพักผ่อนไม่เพียงพอดังนั้นเพื่อปกป้องร่างกายของเราจากอันตรายของโควิด ก็ต้องให้ความสำคัญกับระบบภูมิต้านทานอยู่ทุกเมื่อ เพื่อที่ร่างกายเราจะไม่แพ้เชื้อโรค หรือไวรัสที่อาจจะเข้าสู่ร่างกายของเราจนกลายเป็นภัยต่อสุขภาพของคุณ…# 6 วิธีดูแลสุขภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค# 1. ลดความเครียดอารมณ์เครียดจะส่งผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานแย่ลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย2. นอนหลับให้เพียงพอ จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้เป็นปกติ เพราะร่างกายจะผลิตและหลั่งสาร Cytokines ในระหว่างที่เรานอนหลับ ซึ่งสารนี้ ทำหน้าที่ช่วยรักษาและเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน แต่หากนอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ปริมาณ Cytokines ลดน้อยลง รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงด้วย3. ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะน้ำจะช่วยเพิ่มสารคัดหลั่งและความชุ่มชื้นของเยื่อบุผิวในท่อทางเดินหายใจส่วนบน ช่วยป้องกันและดักจับฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ Read more…

Heart Rate และ Heart Rate Variability ต่างกันอย่างไร?

การตรวจวัดการเต้นของหัวใจด้วยเครื่อง Smart Pulse นั้นจะมีการวัด ค่าอัตราการเต้นหัวใจ (Mean Heart Rate) และ ค่าความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ  HRV (Heart Rate Variability)  แล้วทั้งสองค่าต่างกันอย่างไร?  … แม้จะเป็นการวัดจากการเต้นของหัวใจเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Mean Heart Rate) จะดูที่ค่าเฉลี่ยของการเต้นของหัวใจจำนวนครั้งต่อนาที ในช่วงการตรวจวัด  แต่ค่าความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ (HRV)นั้น จะเป็นการวัดความแปรปรวนของช่วงเวลาห่างระหว่างจังหวะการเต้นของหัวใจแต่ละครั้งที่ต่อเนื่องกัน ตลอดในช่วงการตรวจวัด   ซึ่งค่า HRV จะมีประโยชน์ในการให้ข้อมูลสุขภาพมากกว่า   … โดยทั่วไป คนที่มีค่าความแปรปรวนการเต้นของหัวใจ HRV ต่ำ แสดงว่ามีความทนทานต่อความเครียดต่ำ จัดการกับความเครียดได้ไม่ดี   ถ้ามีค่า HRV สูงแสดงว่าร่างกายมีความสามารถในการทนทานต่อความเครียดและจัดการต่อความเครียดได้ดี    … ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ (HR)  คนปกติโดยทั่วไป Read more…

หัวใจ..สามารถบ่งบอกถึงการทำงานทั้งหมดของประสาทอัตโนมัติได้จริงหรือ ?

หัวใจนั้นไม่สามารถบ่งบอกการทำงานของประสาทอัตโนมัติได้ทั้งหมด  แต่หัวใจนั้นทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทซิมพาเทติกพาราซิมพาเทติก และเป็นอวัยวะที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก  จึงสามารถใช้บ่งบอกถึงการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทซิมพาเทติกพาราซิมพาเทติก  … สมัยก่อนเมื่อกล่าวถึงระบบประสาทอัตโนมัติจะหมายถึงประสาทซิมพาเทติกเท่านั้น แต่ปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการเต้นของหัวใจ (Heart Rate Variability; HRV) นั้นเป็นวิธีการเฉพาะที่ใช้ในการตรวจวัดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก   ซึ่งปัจจุบันวิธีการ HRV นี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้มากที่สุด ในการตรวจวัดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ  สะดวกและรวดเร็ว ….. ประเภทของตรวจวัดระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่  • HRV(Heart Rate Variability) • Gastrointestinal Motility Assessment • Analysis for the Neurotransmitter in blood • Electrophysiological Assessment • GSR (Galvanic skin response) • Pupillary reflex …. Read more…